ตบ
หน้าตา
ภาษาไทย
[แก้ไข]การออกเสียง
[แก้ไข]การแบ่งพยางค์ | ตบ | |
การแผลงเป็น อักษรโรมัน | ไพบูลย์พับบลิชชิง | dtòp |
ราชบัณฑิตยสภา | top | |
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย) | /top̚˨˩/(สัมผัส) |
รากศัพท์ 1
[แก้ไข]คำนาม
[แก้ไข]ตบ
- ชื่อไม้น้ำในวงศ์ Pontederiaceae มี 2 ชนิด คือ ชนิด Monochoria hastata (L.) Solms ขึ้นตามท้องนาที่แฉะและน้ำนิ่ง ดอกสีน้ำเงิน ยอดอ่อนและดอกกินได้, คำสุภาพเรียกว่า ผักสามหาว, และชนิด Eichhornia crassipes (C. Martius) Solms-Laub. ขึ้นตามลำน้ำทั่วไป ดอกสีม่วงอ่อน เรียกว่า ผักตบชวา
รากศัพท์ 2
[แก้ไข]สืบทอดจากไทดั้งเดิม *tɤpᴰ; ร่วมเชื้อสายกับลาว ຕົບ (ต็บ), คำเมือง ᨲᩫ᩠ᨷ (ต็บ), ไทใหญ่ တူပ်း (ตู๊ป), จ้วง dop หรือ doep
คำกริยา
[แก้ไข]ตบ (คำอาการนาม การตบ)
- เอาฝ่ามือหรือของแบน ๆ เป็นต้นตีอย่างแรง
- ตบหน้า
- ตบลูกเทนนิส
- เอาฝ่ามือแตะเบา ๆ ด้วยความเอ็นดู
- ตบหัวเด็ก
- (ภาษาปาก) หมุนพวงมาลัยอย่างรวดเร็วเพื่อให้รถเปลี่ยนทางวิ่งในทันที
- ถ้าเขาไม่รีบตบซ้ายทันทีมีหวังชนกันแหลก
คำแปลภาษาอื่น
[แก้ไข]เอาฝ่ามือหรือของแบน ๆ เป็นต้นตีอย่างแรง
คำสืบทอด
[แก้ไข]- → ญัฮกุร: ต็อบ
รากศัพท์ 3
[แก้ไข]แผลงมาจาก ตก, ตัดมาจาก ตกรางวัล
คำกริยา
[แก้ไข]ตบ (คำอาการนาม การตบ)
- (ภาษาปาก) ให้เพื่อตอบแทนความดีความชอบ
- กระทรวงการคลังเสนอ ครม. ตบโบนัสปลัดกระทรวงคนละ 5 แสนบาท
- เขาทำงานดีมาก เจ้านายเลยตบรางวัลให้เป็นพิเศษ
อ้างอิง
[แก้ไข]- ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมคำใหม่ เล่ม 2 ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ยูเนียนอุลตร้าไวโอเร็ต, 2552. หน้า 49.
- ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมคำใหม่ เล่ม 3 ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ยูเนียนอุลตร้าไวโอเร็ต, 2554. หน้า 50.
หมวดหมู่:
- สัมผัส:ภาษาไทย/op̚
- ศัพท์ภาษาไทยที่มีการออกเสียงไอพีเอ
- ศัพท์ภาษาไทยที่มี 1 พยางค์
- คำหลักภาษาไทย
- คำนามภาษาไทย
- Pages with nonstandard language headings
- ศัพท์ภาษาไทยที่สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม
- ศัพท์ภาษาไทยที่รับมาจากภาษาไทดั้งเดิม
- หน้าที่มีลิงก์แดงภาษาจ้วง/m
- คำกริยาภาษาไทย
- ศัพท์ภาษาไทยที่มีตัวอย่างการใช้
- ศัพท์ภาษาไทยที่เป็นภาษาปาก
- รายการที่มีกล่องคำแปล
- หน้าที่มีลิงก์แดงภาษาคำเมือง/t+