ยกเมฆ
หน้าตา
ภาษาไทย
[แก้ไข]รากศัพท์
[แก้ไข]การออกเสียง
[แก้ไข]การแบ่งพยางค์ | ยก-เมก | |
การแผลงเป็น อักษรโรมัน | ไพบูลย์พับบลิชชิง | yók-mêek |
ราชบัณฑิตยสภา | yok-mek | |
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย) | /jok̚˦˥.meːk̚˥˩/(สัมผัส) |
คำกริยา
[แก้ไข]ยกเมฆ (คำอาการนาม การยกเมฆ)
- เพ่งดูเมฆเมื่อเห็นเป็นรูปอะไรแล้ว ก็ถือเป็นนิมิตเพื่อทำนายว่าดีหรือร้าย เช่นในเวลาจะยกทัพ ถ้าเห็นเมฆเป็นรูปพระนารายณ์ ก็ถือว่าเป็นนิมิตที่ดี ควรยกทัพได้, ถ้าเห็นเมฆเป็นรูปคนหัวขาดหรือแขนขาดขาขาด เป็นนิมิตไม่ดี ไม่ควรยกทัพ แม้ผู้ทรงวิทยาคุณอาจบริกรรมต่อหัวหรือแขนขาให้สมบูรณ์ได้ ถึงกระนั้นก็ไม่ถือว่าเป็นนิมิตที่ดี ไม่ควรยกทัพ
- ตรงเข้าไปในป่าแล้วปลุกตัว เป่าทั่วด้วยคาถาประกาศิต ขยับยืนยกเมฆดูนิมิต เห็นรูปนารายณ์เรืองฤทธิ์ติดอัมพร(ขุนช้างขุนแผน)
- กอดอกยกเมฆดูนิมิต ก็วิปริตเป็นรูปคนหัวหาย จะยกต่อคอแขนไม่ติดกาย เถนสำคัญมั่นหมายไม่คืนมา(ขุนช้างขุนแผน)
- (สำนวน) เดาเอา, นึกคาดเอาเอง, กุเรื่องขึ้น