สอย
หน้าตา
ดูเพิ่ม: ส่อย
ภาษาไทย
[แก้ไข]การออกเสียง
[แก้ไข]การแบ่งพยางค์ {เสียงสระสั้น} | สอย | ส็อย | |
การแผลงเป็น อักษรโรมัน | ไพบูลย์พับบลิชชิง | sɔ̌ɔi | sɔ̌i |
ราชบัณฑิตยสภา | soi | soi | |
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย) | /sɔːj˩˩˦/(สัมผัส) | /sɔj˩˩˦/(สัมผัส) |
รากศัพท์ 1
[แก้ไข]ร่วมเชื้อสายกับลาว ສອຍ (สอย), คำเมือง ᩈᩬ᩠ᨿ (สอย), ไทลื้อ ᦉᦾ (สอ̂ย), ไทใหญ่ သွႆ (สอ̂ย); เทียบพ่าเก ꩬေ (เส)
คำกริยา
[แก้ไข]สอย (คำอาการนาม การสอย)
- เอาไม้มีขอหรือมีง่ามหรือไม้จำปาเกี่ยว ดึง ดัน หรือบิดเอาดอกไม้ลูกไม้เป็นต้นลงมา
- (ภาษาปาก, สแลง) ทำให้หลุดจากตำแหน่ง
- การเลือกตั้ง ส.ว. คราวที่ผ่านมานี้ กกต. สอยผู้ชนะการเลือกตั้งไปหลายคน
- (ภาษาปาก, สแลง) ต่อยให้ล้มลง
- นักมวยถูกหมัดสอยที่คางจนร่วง
- (ภาษาปาก, สแลง) รีบซื้อของโดยเร็ว (มักใช้กับของที่ออกใหม่ ราคาถูก เป็นต้น)
- แม็กกาซีนออกใหม่ต้องรีบไปสอย
คำแปลภาษาอื่น
[แก้ไข]เอาไม้เกี่ยวลงมา
|
รากศัพท์ 2
[แก้ไข]คำกริยา
[แก้ไข]สอย (คำอาการนาม การสอย)
- แทงด้วยเข็มหรือสิ่งที่แหลมอย่างเข็มเย็บผ้าให้เป็นตะเข็บ
- เย็บปิดชายผ้าด้วยวิธีการสอดเข็มเกี่ยวผ้าให้ติดกันโดยไม่ให้เห็นเส้นด้าย
- เขาสอยชายกระโปรงเรียบดี ไม่เห็นรอยเข็มเลย
รากศัพท์ 3
[แก้ไข]ร่วมเชื้อสายกับลาว ສອຍ (สอย) (ในคำว่า ໃຊ້ສອຍ (ใซ้สอย)), ไทใหญ่ သွႆ (สอ̂ย) (ในคำว่า ၸႂ်ႉသွႆ (ใจ๎สอ̂ย))
คำกริยา
[แก้ไข]สอย (คำอาการนาม การสอย)
อ้างอิง
[แก้ไข]- ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมคำใหม่ เล่ม 1 ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ธนาเพรส, 2553. หน้า 156.
- ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมคำใหม่ เล่ม 3 ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ยูเนียนอุลตร้าไวโอเร็ต, 2554. หน้า 108.