ข้ามไปเนื้อหา

ส่วย

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: สวย

ภาษาไทย

[แก้ไข]
วิกิพีเดียภาษาไทยมีบทความเกี่ยวกับ:
Wikipedia

การออกเสียง

[แก้ไข]
การแบ่งพยางค์ส่วย
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงsùai
ราชบัณฑิตยสภาsuai
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/sua̯j˨˩/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1

[แก้ไข]

ยืมมาจากภาษาแต้จิ๋ว (suê3, ภาษี)[1]; เทียบภาษาจ้วง suih (ซุ่ย)

คำนาม

[แก้ไข]

ส่วย

  1. (โบราณ) รายได้แผ่นดินประเภทหนึ่ง เรียกเก็บเป็นสิ่งของหรือเงินตราแทนการเข้าเดือนหรือการรับราชการ
  2. (โบราณ) สิ่งของพื้นเมืองที่เมืองหลวงเรียกเกณฑ์จากหัวเมืองเป็นประจำเพื่อใช้ประโยชน์ในราชการ
  3. (โบราณ) บรรณาการจากประเทศราช
  4. (เลิกใช้) เงินช่วยราชการตามที่กำหนดเรียกเก็บจากราษฎรชายที่มิได้รับราชการทหารเป็นรายบุคคล, รัชชูปการ ก็ว่า
  5. (ภาษาปาก) เงินสินบน

คำสืบทอด

[แก้ไข]
  • คำเมือง: ᩈ᩠ᩅ᩠᩵ᨿ (สว่ย)
  • ลาว: ສ່ວຍ (ส่วย)
  • ไทลื้อ: ᦉᦽᧈ (โส่ย)

รากศัพท์ 2

[แก้ไข]

ยืมมาจากภาษากูย กวย (คน) โดยเปลี่ยน ก- เป็น ส- เพื่อเลี่ยงคำหยาบ

รูปแบบอื่น

[แก้ไข]

คำนาม

[แก้ไข]

ส่วย

  1. กลุ่มชาติพันธุ์พูดภาษาตระกูลมอญ-เขมรพวกหนึ่ง อยู่ทางภาคอีสาน

คำวิสามานยนาม

[แก้ไข]

ส่วย

  1. ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ดังกล่าว

อ้างอิง

[แก้ไข]
  1. chapter สำเนาที่เก็บถาวร, in (please provide the title of the work)[1], accessed 2021-12-07, archived from the original on 2020-07-22

ภาษาอีสาน

[แก้ไข]

รากศัพท์

[แก้ไข]

เทียบภาษาจีนยุคกลาง (MC sejX); ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᨪ᩠ᩅ᩠᩵ᨿ (ซว่ย), ภาษาลาว ສ່ວຍ (ส่วย), ภาษาเขิน ᨪ᩠ᩅ᩠᩵ᨿ (ซว่ย), ภาษาไทลื้อ ᦌᦽᧈ (โซ่ย), ภาษาไทดำ ꪏ꪿ꪺꪥ (ซั่วย), ภาษาจ้วง swiq (เส่ย), ภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง svaiq (สว่าย)

คำกริยา

[แก้ไข]

ส่วย (คำอาการนาม การส่วย)

  1. ล้าง