เหนียว
หน้าตา
ดูเพิ่ม: เหนี่ยว
ภาษาไทย
[แก้ไข]รากศัพท์
[แก้ไข]สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *ʰniəwᴬ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ໜຽວ (หนย̂ว), ภาษาไทลื้อ ᦵᦐᧁ (เหฺนว), ภาษาไทดำ ꪘꪸꪫ (หฺนย̂ว), ภาษาไทใหญ่ ၼဵဝ် (เนว), ภาษาไทใต้คง ᥘᥥᥝᥴ (เล๋ว) หรือ ᥢᥥᥝᥴ (เน๋ว), ภาษาจ้วง niu, ภาษาจ้วงแบบหนง no, ภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง nuo/nu
การออกเสียง
[แก้ไข]การแบ่งพยางค์ | เหฺนียว | |
การแผลงเป็น อักษรโรมัน | ไพบูลย์พับบลิชชิง | nǐao |
ราชบัณฑิตยสภา | niao | |
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย) | /nia̯w˩˩˦/(สัมผัส) |
คำคุณศัพท์
[แก้ไข]เหนียว (คำอาการนาม ความเหนียว)
- ดึงขาดยาก, ทนทานไม่หักไม่ขาดง่าย, แกะออกยาก, ไม่ยุ่ย, ไม่เปื่อย
- กิ่งมะขามเหนียวมาก
- ด้ายหลอดเหนียวมาก
- มือเหนียว
- ตีนเหนียว
- มีลักษณะคล้ายยางใช้ติดสิ่งอื่นได้
- เอาแป้งมันผสมน้ำตั้งไฟแล้วกวนจนเหนียว
- อาการที่ทำให้รู้สึกเหนอะหนะ
- เหงื่อออกจนเนื้อตัวเหนียวไปหมด
- (ภาษาปาก) คงกระพัน, ทนทานต่อศัสตราวุธ, ฟัน แทง หรือยิงไม่เข้า
- เขาเป็นคนหนังเหนียว
- (ภาษาปาก) ตระหนี่, มักใช้ว่า ขี้เหนียว
- เขาเป็นคนเหนียวมาก
คำนาม
[แก้ไข]เหนียว