ชง

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: ชัง, ชั่ง, ชิง, ชิ้ง, ชีง, และ ช๋ง

ภาษาไทย[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์ชง
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงchong
ราชบัณฑิตยสภาchong
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/t͡ɕʰoŋ˧/(สัมผัส)
คำพ้องเสียงชงฆ์

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

จากฮกเกี้ยน (chhiong, เทน้ำ, ผสมน้ำ)[1]

คำกริยา[แก้ไข]

ชง (คำอาการนาม การชง)

  1. เทน้ำร้อนลงบนใบชาหรือสมุนไพรบางชนิดเป็นต้นเพื่อสกัดสาร กลิ่น หรือรสที่ต้องการ
    ชงชาจีน
    ชงชาดอกคำฝอย
  2. ใช้น้ำร้อนทำให้ละลาย, ผสมเครื่องดื่มประเภทผงด้วยน้ำร้อนและปรุงรสให้พร้อมที่จะรับประทาน
    ชงนม
    ชงกาแฟ
  3. เทน้ำร้อนจากกาลงในภาชนะอื่น ในคำว่า ชงน้ำร้อน
    ชงน้ำร้อนใส่กระติก
  4. (ภาษาปาก) เตรียมการให้, ดำเนินการให้
    เขาชงเรื่องให้รัฐมนตรีลงนาม
  5. (ภาษาปาก) เตะลูกบอลให้ผู้อื่นทำประตู
    เขาทำแฮ้ตถริกได้แต่กลับถล่มตัวว่าเพื่อนร่วมทีมชงลูกได้ดี

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

ยืมมาจากภาษาแต้จิ๋ว (chhiong, ชน, ปะทะ)[1]; เป็นศัพท์โหราศาสตร์

คำกริยา[แก้ไข]

ชง (คำอาการนาม การชง)

  1. ขัดกัน, เป็นอริกัน, เป็นศัตรูกัน
    ดวงรัฐมนตรีกับปลัดคงชงกัน จึงมีเรื่องขัดแย้งกันอยู่เรื่อย

คำคุณศัพท์[แก้ไข]

ชง

  1. อัปมงคล, โชคร้าย
    ปีชง

อ้างอิง[แก้ไข]

ภาษาปักษ์ใต้[แก้ไข]

คำกริยา[แก้ไข]

ชง (คำอาการนาม ก่านชง)

  1. งง, ชะงัก, ประหม่า