หมู

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: หมี, หมู่, หิม, หุม, หุ้ม, และ ห่ม

ภาษาไทย[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์หฺมู
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงmǔu
ราชบัณฑิตยสภาmu
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/muː˩˩˦/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม *ʰmuːᴬ¹, จากภาษาไทดั้งเดิม *ʰmuːᴬ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᩉ᩠ᨾᩪ (หมู), ภาษาลาว ໝູ (หมู), ภาษาไทลื้อ ᦖᦴ (หฺมู), ภาษาไทดำ ꪢꪴ (หฺมุ), ภาษาไทใต้คง ᥛᥧᥴ (มู๋), ภาษาไทใหญ่ မူ (มู), ภาษาอาหม 𑜉𑜥 (มู), ภาษาปู้อี mul, ภาษาจ้วง mou, ภาษาจ้วงแบบหนง mu, ภาษาแสก หมู่; เทียบภาษาสุ่ย hmus, ภาษาเบดั้งเดิม *muːᴬ¹, ภาษาไหลดั้งเดิม *hməw

คำนาม[แก้ไข]

หมู

  1. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด ในวงศ์ Suidae เป็นสัตว์กีบคู่ ตัวอ้วน จมูกและปากยื่นยาว ปลายจมูกบานใช้สำหรับดุนดินหาอาหาร อาการเช่นนี้เรียกว่า ดุด ขนลำตัวแข็งอาจยาวหรือสั้น มีเขี้ยว 2 คู่ กินทั้งพืชและสัตว์ มีทั้งที่เป็นสัตว์เลี้ยงและที่เป็นสัตว์ป่า หาอาหารโดยใช้จมูกดุด (คำลักษณนาม ตัว)
  2. (ภาษาปาก) บุคคลที่อาจหลอกหรือเอาชนะได้ง่าย
    นักมวยต่างประเทศคนนี้อย่าไปคิดว่าหมูนะ
  3. (ภาษาปาก, สแลง, ล้าสมัย) ฝิ่นที่คลุกยาฉุน ยาเส้น ใบพลู ใบจาก หรือกัญชาใช้ม้วนสูบด้วยกล้อง
คำพ้องความ[แก้ไข]
ดูที่ อรรถาภิธาน:หมู

คำแปลภาษาอื่น[แก้ไข]

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

คำคุณศัพท์[แก้ไข]

หมู (คำอาการนาม ความหมู)

  1. (ภาษาปาก) ง่าย, สะดวก
    เขาเลือกทำแต่งานหมู

คำกริยาวิเศษณ์[แก้ไข]

หมู (คำอาการนาม ความหมู)

  1. (ภาษาปาก) ง่าย, สะดวก
    วิชาคำนวณสำหรับเขาแล้วหมูมาก
คำพ้องความ[แก้ไข]

ภาษาคำเมือง[แก้ไข]

คำนาม[แก้ไข]

หมู (คำลักษณนาม ตั๋ว)

  1. อีกรูปหนึ่งของ ᩉ᩠ᨾᩪ (หมู)