สุ่ม
หน้าตา
ภาษาไทย
[แก้ไข]รากศัพท์
[แก้ไข]สืบทอดจากภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม *sumᴮ¹; ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᩈᩩ᩵ᨾ (สุ่ม), ภาษาเขิน ᩈᩩ᩵ᨾ (สุ่ม), ᩈᩪ᩵ᨾ (สู่ม), ภาษาลาว ສຸ່ມ (สุ่ม), ภาษาไทลื้อ ᦉᦳᧄᧈ (สุ่ม), ภาษาไทดำ ꪎꪴ꪿ꪣ (สุ่ม), ภาษาไทใหญ่ သုမ်ႇ (สุ่ม), ภาษาไทใต้คง ᥔᥧᥛᥱ (สู่ม), ภาษาพ่าเก ꩬုံ (สุํ), ภาษาอาหม 𑜏𑜤𑜪 (สุํ), ภาษาจ้วง camj(ส้าม), ภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง zamj(จ้าม)
การออกเสียง
[แก้ไข]การแบ่งพยางค์ | สุ่ม | |
การแผลงเป็น อักษรโรมัน | ไพบูลย์พับบลิชชิง | sùm |
ราชบัณฑิตยสภา | sum | |
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย) | /sum˨˩/(สัมผัส) |
คำนาม
[แก้ไข]สุ่ม
- เครื่องมือจับปลาชนิดหนึ่ง มักสานด้วยไม้ไผ่เป็นตา ๆ ลักษณะคล้ายทรงกระบอก ด้านบนสอบเข้า มีช่องให้มือล้วงลงไปได้ เรียกว่า สุ่มปลา
- เครื่องสานตาห่าง ๆ มีลักษณะครึ่งทรงกลมหรือโอคว่ำ ข้างบนมีช่องกลม ๆ ใช้สำหรับครอบขังไก่เป็นต้น เรียกว่า สุ่มไก่
- เรียกกระโปรงที่มีลักษณะรูปร่างคล้ายสุ่มไก่ ว่า กระโปรงทรงสุ่มไก่
คำกริยา
[แก้ไข]สุ่ม (คำอาการนาม การสุ่ม)
- อาการที่เอาสุ่มครอบเพื่อจับปลาเป็นต้น
- อาการที่เดาโดยนึกเอาเองอย่างสุ่มปลา
- เดาสุ่ม
- พูนสูงขึ้นจนล้น
- ข้าวสุ่มจาน
- อาการที่กระทำไปโดยไม่เจาะจง
- สุ่มกลุ่มตัวอย่างจากประชากร
คำกริยาวิเศษณ์
[แก้ไข]สุ่ม (คำอาการนาม ความสุ่ม)