ข้ามไปเนื้อหา

ลิ่น

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี

ภาษาไทย

[แก้ไข]

รากศัพท์

[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *lilᴮ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ລິ່ນ (ลิ่น), ภาษาคำเมือง ᩃᩥ᩠᩵ᨶ (ลิ่น), ภาษาเขิน ᩃᩥ᩠᩵ᨶ (ลิ่น), ภาษาไทลื้อ ᦟᦲᧃᧈ (ลี่น), ภาษาไทใหญ่ လိၼ်ႈ (ลิ้น), ภาษาจ้วง linh

การออกเสียง

[แก้ไข]
การแบ่งพยางค์ลิ่น
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงlîn
ราชบัณฑิตยสภาlin
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/lin˥˩/(สัมผัส)

คำนาม

[แก้ไข]

ลิ่น

  1. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในวงศ์ Manidae ตัวยาว เกล็ดใหญ่หนาแข็งซ้อนเหลื่อมกัน หน้าแหลม เล็บหนายาวโค้งปลายแหลมใช้ขุดดินและปีนต้นไม้ หางยาวม้วนงอได้ เมื่อตกใจหรือป้องกันศัตรูจะม้วนตัวกลม ลิ้นยาวเป็นเส้นมีน้ำลายเหนียวใช้จับมดและปลวก แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มี 2 ชนิด คือ ชนิด Manis javanica Desmarest และชนิด M. pentadactyla Linn. ชนิดหลังตัวเล็กกว่าเล็กน้อยและมีโอกาสพบได้น้อยกว่าชนิดแรก

คำพ้องความ

[แก้ไข]