ลิ้น

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี

ภาษาไทย[แก้ไข]

วิกิพีเดียมีบทความเกี่ยวกับ:
Wikipedia

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์ลิ้น
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงlín
ราชบัณฑิตยสภาlin
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/lin˦˥/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *liːnꟲ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ລີ້ນ (ลี้น), ภาษาคำเมือง ᩃᩥ᩠᩶ᨶ (ลิ้น), ภาษาไทลื้อ ᦟᦲᧃᧉ (ลี้น), ภาษาไทใหญ่ လိၼ်ႉ (ลิ๎น), ภาษาอาหม 𑜎𑜢𑜃𑜫 (ลิน์), ภาษาปู้อี linx, ภาษาจ้วง linx, ภาษาแสก ลีน; เทียบภาษาเบดั้งเดิม *liːnᴮꟲ²

คำนาม[แก้ไข]

ลิ้น

  1. อวัยวะที่อยู่ในปาก มีหน้าที่ (1) กลั้วอาหารให้เข้ากันแล้วส่งลงในลำคอ (2) ช่วยในการออกเสียง (3) ให้รู้รส, ลิ้นสัตว์บางจำพวกเช่นจำพวกที่มีขน ใช้ลิ้นเลียขนเลียแผลเพื่อทำความสะอาดได้
  2. (ในเชิงเปรียบเทียบ) ส่วนของสิ่งต่าง ๆ มักมีรูปแบน ยาวหรือกลม ที่อยู่ภายใน ก็มี ที่อยู่ภายนอก ก็มี ที่เป็นชั้นอยู่ภายในยกถอดออกได้ ก็มี
    ลิ้นหีบ
    ลิ้นลุ้ง
    ลิ้นของปี่
    ลิ้นเชี่ยนหมาก
    ลิ้นกล่องอาหาร
  3. อุปกรณ์สำหรับปิดเปิดให้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่นอากาศ น้ำ เป็นต้น หยุดการเคลื่อนที่ผ่าน หรือเคลื่อนที่ผ่านไปได้
  4. (ภาษาปาก, ร้อยกรอง) การพูด, ถ้อยคำ
    ไม่เชื่อลิ้นเจ้าแล้วนะแก้วตา
คำพ้องความ[แก้ไข]
(อวัยวะ): ดูที่ อรรถาภิธาน:ลิ้น
คำแปลภาษาอื่น[แก้ไข]

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

คำนาม[แก้ไข]

ลิ้น

  1. อุปกรณ์ชนิดหนึ่งในเครื่องยนต์ชนิดเผาไหม้ภายใน ทำหน้าที่เป็นวาล์วปิดเปิดเป็นจังหวะ ชุดหนึ่งเรียกว่า ลิ้นไอดี สำหรับให้อากาศหรืออากาศผสมน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าสู่ห้องเผาไหม้ อีกชุดหนึ่งเรียกว่า ลิ้นไอเสีย สำหรับให้แก๊สต่าง ๆ ที่เกิดจากการเผาไหม้ออกจากห้องเผาไหม้ไปสู่ท่อไอเสีย, วาล์ว ก็เรียก

ภาษาคำเมือง[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

คำนาม[แก้ไข]

ลิ้น

  1. อีกรูปหนึ่งของ ᩃᩥ᩠᩶ᨶ (ลิ้น)
  2. (มด~) อีกรูปหนึ่งของ ᩃᩥ᩠᩶ᨶ (ลิ้น)
  3. (เอื้อง~) อีกรูปหนึ่งของ ᩃᩥ᩠᩶ᨶ (ลิ้น)