ข้ามไปเนื้อหา

เลีย

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: เลย

ภาษาไทย

[แก้ไข]

รากศัพท์

[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม *liəᴬ⁴, จากภาษาไทดั้งเดิม *C̬.lwiəᴬ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ເລຍ (เลย), ภาษาคำเมือง ᩃ᩠ᨿᩮ (ลเย), ภาษาไทลื้อ ᦵᦟ (เล), ภาษาไทดำ ꪩꪸ (ลย̂), ภาษาไทใหญ่ လေး (เล๊), ภาษาไทใต้คง ᥘᥥᥰ (เล๊), ภาษาอาหม 𑜎𑜦 (เล), ภาษาจ้วง riz, ภาษาจ้วงแบบหนง lizภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง liz

การออกเสียง

[แก้ไข]
การแบ่งพยางค์เลีย
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงliia
ราชบัณฑิตยสภาlia
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/lia̯˧/(สัมผัส)

คำกริยา

[แก้ไข]

เลีย (คำอาการนาม การเลีย)

  1. แลบลิ้นกวาดบนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
    เลียริมฝีปาก
    หมาเลียแผล
    แมวเลียขน
  2. เรียกอาการของความร้อนหรือสิ่งที่เป็นเปลว เช่นไฟที่แลบออกมากระทบสิ่งใดแล้วทำให้สิ่งนั้นไหม้ แห้ง หรือซีดเผือดไป
    ผ้าถูกแดดเลียสี
    ฝาบ้านถูกไฟเลียเป็นรอยไหม้
  3. เรียกผมตอนเหนือท้ายทอยของเด็กอ่อนที่นอนพลิกตะแคงตัวยังไม่ได้ มีลักษณะแหว่งเป็นแถบยาวตามขวาง คล้ายมีอะไรมากัดแทะไปว่า ถูกผ้าอ้อมเลีย หรือ ผ้าอ้อมกัด
  4. (ภาษาปาก, สแลง) ประจบประแจงด้วยอาการดูประหนึ่งว่าเป็นอย่างสุนัขเลียแข้งเลียขาเพื่อให้นายรัก
    ลุกเป็นไฟ! ส.ว. ด่า ส.ส. ขี้ข้าโจร ก่อนเจอสวนกลับเลียรองเท้าทหาร