ข้ามไปเนื้อหา

สวน

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: ส่วน

ภาษาไทย

[แก้ไข]

การออกเสียง

[แก้ไข]
การแบ่งพยางค์สวน
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงsǔuan
ราชบัณฑิตยสภาsuan
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/sua̯n˩˩˦/(สัมผัส)
คำพ้องเสียงสรวล

รากศัพท์ 1

[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *swɯːnᴬ; เทียบภาษาจีนยุคกลาง (MC hjwon); ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᩈ᩠ᩅᩁ (สวร), ภาษาลาว ສວນ (สวน), ภาษาไทลื้อ ᦷᦉᧃ (โสน), ภาษาไทดำ ꪎꪺꪙ (สัวน), ภาษาไทขาว ꪎꪺꪙ, ภาษาไทใหญ่ သူၼ် (สูน), ภาษาอาหม 𑜏𑜤𑜃𑜫 (สุน์), ภาษาจ้วง suen

คำนาม

[แก้ไข]

สวน

  1. บริเวณที่ปลูกต้นไม้เป็นจำนวนมาก
    สวนทุเรียน
    สวนยาง
    สวนกุหลาบ
    สวนผัก
  2. (ในเชิงเปรียบเทียบ) สถานที่ซึ่งมีลักษณะเช่นนั้นในบางกรณี
    สวนสัตว์
    สวนงู
คำแปลภาษาอื่น
[แก้ไข]
คำสืบทอด
[แก้ไข]
  • เขมร: សួន (สัวน)

รากศัพท์ 2

[แก้ไข]

ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ສວນ (สวน)

คำกริยา

[แก้ไข]

สวน (คำอาการนาม การสวน)

  1. อาการที่เคลื่อนไปตรงข้ามในเส้นทางเดียวกัน
    เดินสวนกัน
    มีรถสวนมา
  2. (ล้าสมัย) เทียบสอบขนาดหรือปริมาณเครื่องตวง
    สวนสัด
    สวนทะนาน
  3. เอาสายสวนใส่ทางช่องปัสสาวะให้เข้าไปในกระเพาะปัสสาวะเพื่อให้ปัสสาวะออก
  4. เอาลูกสวนใส่ทวารหนักแล้วบีบน้ำยาหรือน้ำสบู่ให้เข้าไปในลำไส้ใหญ่เพื่อกระตุ้นให้ลำไส้ใหญ่บีบตัวให้อุจจาระออก

รากศัพท์ 3

[แก้ไข]

คำกริยา

[แก้ไข]

สวน (คำอาการนาม การสวน)

  1. เย็บแบบด้วยดอกไม้หรือใบไม้ให้เป็นแถบยาว เพื่อใช้ตกแต่งประดับโครงประทุนคลุมผ้าไตรเป็นต้น

รากศัพท์ 4

[แก้ไข]

ยืมมาจากภาษาเขมรเก่า *ស្វរ៑ (*สฺวรฺ, ถาม),[1] สามารถแผลงเป็น សំន្វរ៑ (สํนฺวรฺ) ซึ่งเป็นรากของ สำนวน; ร่วมเชื้อสายกับภาษาเขมร សួរ (สัวร)

คำกริยา

[แก้ไข]

สวน (คำอาการนาม การสวน)

  1. (โบราณ, ปัจจุบันอยู่ในคำประสม, สกรรม) ถาม[1]
ลูกคำ
[แก้ไข]

รากศัพท์ 5

[แก้ไข]

ยืมมาจากภาษาบาลี สวน; เทียบภาษาสันสกฤต श्रवण (ศฺรวณ)

รูปแบบอื่น

[แก้ไข]

การออกเสียง

[แก้ไข]
การแบ่งพยางค์[เสียงสมาส]
สะ-วะ-นะ-
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงsà-wá-ná-
ราชบัณฑิตยสภาsa-wa-na-
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/sa˨˩.wa˦˥.na˦˥./

คำนาม

[แก้ไข]

สวน

  1. (ภาษาหนังสือ) การฟัง
ลูกคำ
[แก้ไข]

อ้างอิง

[แก้ไข]
  1. 1.0 1.1 ราชบัณฑิตยสภา (2020) พจนานุกรมโบราณศัพท์ ฉบับราชบัณฑิตยสภา, กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, →ISBN, page 312