ขุน

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี

ภาษาไทย[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์ขุน
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงkǔn
ราชบัณฑิตยสภาkhun
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/kʰun˩˩˦/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

จากภาษาจีนยุคกลาง (MC kjun); ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᨡᩩᩁ (ขุร), ภาษาลาว ຂຸນ (ขุน), ภาษาไทลื้อ ᦃᦳᧃ (ฃุน), ภาษาไทใหญ่ ၶုၼ် (ขุน), ภาษาไทใต้คง ᥑᥧᥢᥴ (ฃู๋น), ภาษาอาหม 𑜁𑜤𑜃𑜫 (ขุน์); เทียบภาษาเขมรเก่า ខុណ (ขุณ), ภาษาเขมร ខុន (ขุน) และ ឃុន (ฆุน)

รูปแบบอื่น[แก้ไข]

คำนาม[แก้ไข]

ขุน

  1. ผู้เป็นใหญ่, หัวหน้า
  2. (โบราณ) บรรดาศักดิ์ข้าราชการรองจากหลวงลงมา
    ขุนวิจิตรมาตรา
  3. (โบราณ) ข้าราชการที่ได้รับพระราชทานสัญญาบัตร ตามปรกติ ต้องมีศักดินาตั้งแต่ 400 ขึ้นไป
  4. เรียกหมากรุกตัวสำคัญที่สุด

คำคุณศัพท์[แก้ไข]

ขุน

  1. ใหญ่
    ขุนเขา
    ขุนนาง

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

คำกริยา[แก้ไข]

ขุน (คำอาการนาม การขุน)

  1. ให้อาหารแก่สัตว์เลี้ยง
  2. โดยปริยายหมายถึงเลี้ยงดูอย่างดี

ภาษาปักษ์ใต้[แก้ไข]

คำสรรพนาม[แก้ไข]

ขุน

  1. คุณ

คำพ้องความ[แก้ไข]

อ้างอิง[แก้ไข]

  • ขุน” ใน Central Southern Thai Dictionary (Kaewkhao, Uthai และ Kiatboonyarit, Tawan: ประเทศไทย: US Peace Corps 1986), หน้าที่ 9