เขิน

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: เขน, เข็น, และ เข่น

ภาษาไทย[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์เขิน
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงkə̌ən
ราชบัณฑิตยสภาkhoen
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/kʰɤːn˩˩˦/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

ร่วมเชื้อสายกับภาษาเขิน ᨡᩨ᩠ᨶ (ขืน), ภาษาไทใหญ่ ၶိုၼ် (ขึน)

คำนาม[แก้ไข]

เขิน

  1. ชื่อคนไทใหญ่เผ่าหนึ่ง ส่วนมากอยู่ในแคว้นฉาน ประเทศพม่า
  2. (เครื่อง~) เครื่องสานที่ทำจากผิวไม้ไผ่ซึ่งนำมาเรียดแล้วทำเป็นโครง ฉาบด้วยรักสมุกหรือรักชาดเพื่อกันน้ำรั่วซึม ไทยได้รับวิธีการทำมาจากไทเขินซึ่งอยู่ในยูนนานตอนใต้

คำวิสามานยนาม[แก้ไข]

เขิน

  1. ภาษาของชาวเขิน ส่วนใหญ่พูดในเมืองเชียงตุง

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

คำคุณศัพท์[แก้ไข]

เขิน (คำอาการนาม ความเขิน)

  1. ตื้นสูงเป็นเนินขึ้นมา (ใช้แก่พื้นที่ในแม่นํ้า ลำคลอง หนอง บึง เป็นต้น)
    แม่นํ้าตื้นเขิน
  2. สั้นหรือสูงเกินไปจนดูขัดตา
    นุ่งผ้าเขิน

รากศัพท์ 3[แก้ไข]

คำคุณศัพท์[แก้ไข]

เขิน (คำอาการนาม ความเขิน)

  1. วางหน้าไม่สนิท, รู้สึกกระดากอาย
  2. เข้ากันไม่สนิท
    ข้อความตอนนี้ฟังเขิน ๆ อยู่