ข้ามไปเนื้อหา

แขยง

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี

ภาษาไทย

[แก้ไข]

การออกเสียง

[แก้ไข]
การแบ่งพยางค์ขะ-แหฺยง
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงkà-yɛ̌ɛng
ราชบัณฑิตยสภาkha-yaeng
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/kʰa˨˩.jɛːŋ˩˩˦/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1

[แก้ไข]

คำนาม

[แก้ไข]

แขยง

  1. ชื่อปลาน้ำจืดแทบทุกชนิดในวงศ์ Bagridae มีตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ ยาวได้ถึง 50 เซนติเมตร ไม่มีเกล็ด มีหนวดยาว 4 คู่ ส่วนหน้าสุดของครีบหลังตอนแรกและครีบอกมีก้านครีบแข็ง 1 ก้าน หยักเป็นหนามคม ถัดไปเป็นก้านครีบอ่อน ส่วนครีบท้องตอนที่ 2 เป็นครีบไขมันลักษณะเป็นแผ่นเนื้อขนาดเล็กหรือใหญ่ขึ้นกับชนิดของปลา ครีบก้นสั้น รูปร่างคล้ายปลากดแต่มีขนาดเล็กกว่า เช่น แขยงหินหรือกดหิน (Pseudomystus siamensis Regan) แขยงใบข้าว [Mystus cavasius (Hamilton-Buchanan)] แขยงธงหรือแขยงหมู (M. bocourti Bleeker) แขยงวังหรือแขยงหนู (Bagrichthys obscures Bleeker)

รากศัพท์ 2

[แก้ไข]

คำกริยา

[แก้ไข]

แขยง (คำอาการนาม การแขยง หรือ ความแขยง)

  1. เกลียดเมื่อได้เห็นหรือถูกต้องสิ่งที่สกปรก น่ารังเกียจ หรือน่าเกลียดน่ากลัว หรือเมื่อนึกถึงสิ่งนั้น, ขยะแขยง ก็ว่า