ข้ามไปเนื้อหา

หก

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: หัก และ หูก

ภาษาไทย

[แก้ไข]

การออกเสียง

[แก้ไข]
การแบ่งพยางค์หก
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงhòk
ราชบัณฑิตยสภาhok
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/hok̚˨˩/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1

[แก้ไข]
จำนวนภาษาไทย (แก้ไข)
60
 ←  5
6
7  → 
    เชิงการนับ: หก
    เชิงอันดับที่: ที่หก
    ตัวคูณ: หกเท่า
    เชิงรวบรวม: ครึ่งโหล
วิกิพีเดียภาษาไทยมีบทความเกี่ยวกับ:
Wikipedia
มะเขือเทศหกผล

สืบทอดจากภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม *xrokᴰ¹ˢ, จากภาษาไทดั้งเดิม *krokᴰ, จากภาษาจีนเก่า (OC *ruɡ); ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᩉᩫ᩠ᨠ (ห็ก), ภาษาลาว ຫົກ (ห็ก), ภาษาไทลื้อ ᦷᦠᧅ (โหก), ภาษาไทดำ ꪶꪬꪀ (โหก), ภาษาไทใหญ่ ႁူၵ်း (หู๊ก), ภาษาไทใต้คง ᥞᥨᥐᥱ (โห่ก), ภาษาอาหม 𑜍𑜤𑜀𑜫 (รุก์), ภาษาปู้อี rogt, ภาษาจ้วง roek หรือ loeg, ภาษาจ้วงแบบหนง choak

เลข

[แก้ไข]

หก

  1. จำนวนห้าบวกหนึ่ง, จำนวนจุดที่มีในนี้ (••••• •)
คำพ้องความ
[แก้ไข]
ดูที่ อรรถาภิธาน:หก

คำนาม

[แก้ไข]

หก

  1. ชื่อเดือนจันทรคติ เรียกว่า เดือน 6 ตกในราวเดือนพฤษภาคม
ลูกคำ
[แก้ไข]
คำแปลภาษาอื่น
[แก้ไข]

รากศัพท์ 2

[แก้ไข]

ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ຫົກ (ห็ก)

คำกริยา

[แก้ไข]

หก (คำอาการนาม การหก)

  1. อาการที่ส่วนเบื้องสูงของร่างกาย ของภาชนะ หรือของสิ่งใดสิ่งหนึ่งเอียงลง เทลง ในทันใดจากที่เดิม
    หกต่ำหกสูง
    น้ำหก
    ข้าวหก
  2. โดยปริยายเรียกอาการเช่นนั้น
    กระดานหก
ลูกคำ
[แก้ไข]

รากศัพท์ 3

[แก้ไข]

คำนาม

[แก้ไข]

หก

  1. ชื่อนกปากขอขนาดเล็ก ในวงศ์ Psittacidae ปากหนา หัวโต ตัวสีเขียว หางสั้น อยู่รวมกันเป็นฝูง ทำรังตามโพรงไม้ มักเกาะห้อยหัวลง กินผลไม้และเมล็ดพืช ในประเทศไทยมี 3 ชนิด คือ หกใหญ่ [Psittinus cyanurus (Forster)] หกเล็กปากแดง [Loriculus vernalis (Sparrman)] และหกเล็กปากดำ [L. galgulus (Linn.)]
  2. นกต่าง ๆ ทั่วไป
    อันเป็นต้นว่า คนอีกแพะแลหมูหมาเป็ดไก่ทั้งห่านนกหกปลาเนื้อฝูงสัตว์ทั้งหลาย
    (จารึกวัดศรีชุม)