เก๋า

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: เกา, เกฺา, เก่า, เก้า, และ เก๊า

ภาษาไทย[แก้ไข]

วิกิพีเดียมีบทความเกี่ยวกับ:
Wikipedia

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์เก๋า
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงgǎo
ราชบัณฑิตยสภาkao
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/kaw˩˩˦/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

ยืมมาจากภาษาแต้จิ๋ว (gao5) ในคำว่า 猴魚猴鱼 (gao5 he5, แปลตรงตัวว่า ปลาลิง)

คำนาม[แก้ไข]

เก๋า (คำลักษณนาม ตัว)

  1. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ปลากะรัง (Serranidae) ส่วนใหญ่ลำตัวยาว ป้อม ล่ำสั้น แบนข้างเล็กน้อย ปลายครีบต่าง ๆ มนกลม เฉพาะปลายครีบหางของบางชนิดเว้า บ้างก็ตัดตรง เกล็ดคลุมทั่วตัวรวมทั้งหัวและล้ำไปบนครีบเดี่ยว ลำตัวรวมทั้งครีบมักมีสีต่าง ๆ โดยเปลี่ยนไปตามขนาด เป็นแต้ม ด่าง ดวง ลาย หรือจุดประคล้ำทึบ แต่บางชนิดก็มีสีแดงหรือเทาโดยตลอด พบอาศัยอยู่ตามพื้นที่ท้องทะเลและชายฝั่งที่มีที่หลบซ่อน แต่ส่วนใหญ่จะพบบริเวณใกล้หรือในเขตปะการัง

การใช้[แก้ไข]

ปลาเหล่านี้เมื่อมีขนาดเล็กมักเรียก "เก๋า" เมื่อมีขนาดกลางและขนาดโตมักเรียก "กะรัง" หรือ "หมอทะเล" ส่วนขนาดโตมากเรียก "หมอทะเล"

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

เป็นไปได้ว่าแผลงมาจาก เก่า

คำคุณศัพท์[แก้ไข]

เก๋า (คำอาการนาม ความเก๋า)

  1. (ภาษาปาก, สแลง) เชี่ยวชาญ, มีประสบการณ์หรือความชำนาญมาก[1]
    คุณปู่เก๋ามากในเรื่องพระเครื่อง
  2. (ภาษาปาก, สแลง) แน่, เก่งกล้าไม่กลัวใคร[1]
    ใครเก๋าออกมาสู้กันหน่อย

อ้างอิง[แก้ไข]

  1. 1.0 1.1 ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมคำใหม่ เล่ม 1 ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ธนาเพรส, 2553. หน้า 17.

ภาษาแสก[แก้ไข]

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

คำนาม[แก้ไข]

เก๋า

  1. เขา (ของสัตว์)

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

คำกริยา[แก้ไข]

เก๋า

  1. เกา