ตะเกียบ
ไปยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
ภาษาไทย[แก้ไข]


รากศัพท์[แก้ไข]
เป็นไปได้ว่ามาจากภาษาเขมร តង្កៀប (ตงฺเกียบ, “คีม; แหนบ”)[1] หรือภาษามอญ သ္ကေပ် (สฺเกป์)[1] หรือภาษาเขมรเก่ายุคอังกอร์ tkyap; เทียบภาษาเขมร ថ្កៀប (ถฺเกียบ) อีกคำหนึ่ง, ภาษาลาว ຕະຂຽບ (ตะขย͢บ), ภาษาไทลื้อ ᦑᦰᦵᦆᧇ (ทะเฅบ), ภาษาไหล tiep
การออกเสียง[แก้ไข]
การแบ่งพยางค์ | ตะ-เกียบ | |
การแผลงเป็น อักษรโรมัน | ไพบูลย์พับบลิชชิง | dtà-gìiap |
ราชบัณฑิตยสภา | ta-kiap | |
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย) | /ta˨˩.kia̯p̚˨˩/(สัมผัส) |
คำนาม[แก้ไข]
ตะเกียบ
- เครื่องใช้สำหรับคีบอาหารทำด้วยไม้หรืองาเป็นต้นเป็นคู่ ๆ
- ชื่อเสาสั้นคู่หนึ่งที่ฝังลงดินสำหรับขนาบเสากลางซึ่งอยู่เหนือพื้นดินอย่างเสาดอกไม้พุ่ม เสาหงส์ เสาโคม เสาธง ให้ตั้งตรง มีสลัก 2 อัน เมื่อถอดสลักอันหนึ่งออกแล้วโน้มเสากลางลงมาได้
- โดยปริยายใช้เรียกของที่เป็นคู่สำหรับคีบ
- ตะเกียบรถจักรยาน
- ครีบคู่ที่อยู่ตรงอกปลา, ขาม้า ก็เรียก
- เรียกขาคนที่ลีบเล็กว่า ขาตะเกียบ
- ส่วนล่างของกระดูกเชิงกรานที่แตะพื้นในเวลานั่ง
- กระดูกอ่อน 2 อันที่ก้นของสัตว์ปีก
คำแปลภาษาอื่น[แก้ไข]
เครื่องใช้สำหรับคีบอาหารทำด้วยไม้หรืองาเป็นต้นเป็นคู่ ๆ
อ้างอิง[แก้ไข]
หมวดหมู่:
- ศัพท์ภาษาไทยที่ยืมมาจากภาษาเขมร
- ศัพท์ภาษาไทยที่รับมาจากภาษาเขมร
- ศัพท์ภาษาไทยที่ยืมมาจากภาษามอญ
- ศัพท์ภาษาไทยที่รับมาจากภาษามอญ
- ศัพท์ภาษาไทยที่ยืมมาจากภาษาเขมรเก่ายุคอังกอร์
- ศัพท์ภาษาไทยที่รับมาจากภาษาเขมรเก่ายุคอังกอร์
- สัมผัส:ภาษาไทย/ia̯p̚
- ศัพท์ภาษาไทยที่มีการออกเสียง IPA
- ศัพท์ภาษาไทยที่มี 2 พยางค์
- คำหลักภาษาไทย
- คำนามภาษาไทย
- ศัพท์ภาษาไทยที่มีตัวอย่างการใช้
- หน้าที่มีลิงก์แดงภาษาไทลื้อ/t