งา

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: งำ, ง่า, และ ง้ำ

ภาษาไทย[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์งา
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงngaa
ราชบัณฑิตยสภาnga
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/ŋaː˧/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *r.ŋaːᴬ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ງາ (งา), ภาษาไทลื้อ ᦇᦱ (งา), ภาษาไทใหญ่ ငႃး (ง๊า), ภาษาไทใต้คง ᥒᥣᥰ (ง๊า), ภาษาอาหม 𑜂𑜠 (งะ), ภาษาจ้วง ngaz; เทียบภาษาสุ่ย qngal, ภาษาไหลดั้งเดิม *hŋɯː, ภาษามาลาโย-พอลินีเชียนดั้งเดิม *leŋa (ซึ่งเป็นรากของภาษาตากาล็อก linga), ภาษามอญ-เขมรดั้งเดิม *lŋaaʔ ~ *lŋawʔ (ซึ่งเป็นรากของภาษาเขมร ល្ង (ลฺง))

คำนาม[แก้ไข]

งา (คำลักษณนาม ต้น or เมล็ด or เม็ด)

  1. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Sesamum orientale L. ในวงศ์ Pedaliaceae ผลเป็นฝัก มีเมล็ดเล็กสีขาวหรือดำ ใช้ประกอบอาหารหรือสกัดน้ำมัน

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *ŋaːᴬ, จากภาษาจีนยุคกลาง (MC ngae); ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ງາ (งา), ภาษาไทลื้อ ᦇᦱ (งา), ภาษาไทใหญ่ ငႃး (ง๊า), ภาษาอาหม 𑜂𑜠 (งะ), ภาษาปู้อี ngaz, ภาษาจ้วง ngaz/nyaz

คำนาม[แก้ไข]

งา (คำลักษณนาม กิ่ง)

  1. ฟันตัดแถวบนที่งอกออกจากปากช้าง

รากศัพท์ 3[แก้ไข]

คำนาม[แก้ไข]

งา

  1. ส่วนหนึ่งของเครื่องดักสัตว์เช่นลอบหรือไซ ทำเป็นซี่ปลายสอบเข้าหากันเพื่อไม่ให้ปลาที่เข้าไปแล้วออกมาได้

รากศัพท์ 4[แก้ไข]

คำนาม[แก้ไข]

งา (คำลักษณนาม ตัว)

  1. ชื่อปลาน้ำกร่อยหรือทะเลขนาดเล็กชนิด Thryssa setirostris (Broussonet) ในวงศ์ Engraulidae กระดูกขากรรไกรบนโค้งยื่นยาวเป็นเส้นจดครีบท้องหรือครีบก้น ลำตัวยาว แบนข้าง ปากกว้าง เกล็ดที่สันท้องเป็นเหลี่ยมคมเรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย พื้นลำตัวสีเงินอมเหลืองส้ม ขนาดยาวได้ถึง 15 เซนติเมตร

ภาษากฺ๋อง[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

คำสรรพนาม[แก้ไข]

งา

  1. ฉัน