เห็บ

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: เหิบ

ภาษาไทย[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์เห็บ
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงhèp
ราชบัณฑิตยสภาhep
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/hep̚˨˩/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *trepᴰ (แมงดูดเลือด); ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ເຫັບ (เหับ), ภาษาไทลื้อ ᦵᦠᧇ (เหบ), ภาษาไทใหญ่ ႁဵပ်း (เห๊ป) ใน ၸၵ်းႁဵပ်း (จั๊กเห๊ป), ภาษาอาหม 𑜍𑜢𑜆𑜫 (ริป์) ใน 𑜍𑜢𑜆𑜫 𑜍𑜨𑜆𑜫 (ริป์ รอ̂ป์), ภาษาแสก ริ๊บ, ภาษาจ้วง hep, ภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง tep (Ningming), ภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง kep (Daxin)


คำนาม[แก้ไข]

เห็บ

  1. ชื่อแมงสัตว์ขาปล้องหลายชนิด หลายสกุล หลายวงศ์ อันดับ Aearina มีขา 8 ขา ลักษณะทั่วไปคล้ายไร แต่ส่วนใหญ่มักโตกว่า และปากมีลักษณะเป็นแท่ง มีหนามโค้งเล็กกระจายอยู่รอบปลายปาก แผ่นแข็งของรูหายใจอยู่บริเวณด้านข้างของลำตัวเรียงกันเลยโคนขาคู่ที่ 4 มีทั้งชนิดที่มีผนังลำตัวแข็งและผนังลำตัวอ่อน เป็นตัวเบียนดูดกินเลือดสัตว์ และเป็นพาหะนำโรค เช่น เห็บวัว (Boophilus caudatus Neumann) เห็บสุนัข [Rhipicephalus sanguineus (Latreille.)] ทั้ง 2 ชนิดอยู่ในวงศ์ Ixodidae

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *trepᴰ (น้ำแข็งที่ตกจากฟ้า); ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ເຫັບ (เหับ), ภาษาไทลื้อ ᦵᦠᧇ (เหบ), ภาษาไทใหญ่ ႁဵပ်း (เห๊ป) ใน မၢၵ်ႇႁဵပ်း (ม่ากเห๊ป), ภาษาอาหม 𑜍𑜢𑜆𑜫 (ริป์),ภาษาจ้วงใต้ haet

คำนาม[แก้ไข]

เห็บ

  1. เม็ดน้ำแข็งที่เกิดจากการกลั่นตัวของไอน้ำในอากาศแล้วตกลงมา เรียกว่า ลูกเห็บ