ช้าง
ภาษาไทย
[แก้ไข]การออกเสียง
[แก้ไข]การแบ่งพยางค์ | ช้าง | |
การแผลงเป็น อักษรโรมัน | ไพบูลย์พับบลิชชิง | cháang |
ราชบัณฑิตยสภา | chang | |
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย) | /t͡ɕʰaːŋ˦˥/(สัมผัส) |
รากศัพท์ 1
[แก้ไข]สืบทอดจากไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม *ɟaːŋꟲ², จากไทดั้งเดิม *ɟaːŋꟲ, จากจีนยุคกลาง 象 (MC zjangX); ร่วมเชื้อสายกับคำเมือง ᨩ᩶ᩣ᩠ᨦ (ช้าง), อีสาน ซ่าง, ลาว ຊ້າງ (ซ้าง), ไทลื้อ ᦋᦱᧂᧉ (ช้าง), ไทดำ ꪋ꫁ꪱꪉ (จ้̱าง), ไทใหญ่ ၸၢင်ႉ (จ๎าง), ไทใต้คง ᥓᥣᥒᥳ (จ๎าง), อาหม 𑜋𑜂𑜫 (ฉง์), จ้วง ciengh, แสก ซาง, ภาษาจ้วงใต้ changj
คำนาม
[แก้ไข]ช้าง (คำลักษณนาม ตัว หรือ เชือก)
- ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เป็นสัตว์บกที่ใหญ่ที่สุด ในวงศ์ Elephantidae ผิวหนังหนา สีดำหรือดำอมเทา รับสัมผัสได้ไว ขนสีดำ จมูกยื่นยาวเรียกว่า งวง ปลายงวงมีจะงอยสำหรับจับสิ่งของ ขมับทั้ง 2 ข้างมีรูเปิดของต่อมน้ำมัน จะมีน้ำมันไหลออกมาเมื่อถึงวัย ขาใหญ่เป็นลำ กินพืช มี 2 ชนิด คือ ช้างเอเชียและช้างแอฟริกา
- คำพ้องความ: ดูที่ อรรถาภิธาน:ช้าง
การใช้
[แก้ไข]ช้างตัวผู้ หรือเรียกว่า ช้างพลาย มีชื่อเรียกกันต่าง ๆ ตามลักษณะ เช่น ช้างสีดอ หรือช้างงวง หรือช้างนรการ (ช้างที่ไม่มีงา หรือมีงาสั้น)
ส่วนช้างตัวเมีย เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ช้างพัง ส่วนช้างพังที่เป็นหัวหน้าโขลงจะเรียกว่า ช้างแม่แปรก หรือคำสุภาพเรียกว่า ช้างแม่หนัก
ลักษณนามใช้แก่ช้างแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ถ้าเป็นช้างป่าหรือช้างไพร (ยังไม่ได้ฝึกหัด) ลักษณนามเรียกเป็น "ตัว" แต่ถ้าช้างนั้นขึ้นเพนียดแล้ว รวมทั้งช้างเผือกด้วยก็เรียกเป็น เชือก
ส่วนสมุหนามของช้างใช้อย่างเดียวกันทั้งหมดว่า โขลง
คำแปลภาษาอื่น
[แก้ไข]
|
ลูกคำ
[แก้ไข]- กกช้าง
- กระดึงช้างเผือก
- กรามช้าง
- กล้วยงวงช้าง
- กลางช้าง
- กะเพียดช้าง
- กะลังตังช้าง
- กาวช้าง
- กาวตราช้าง
- กำลังช้างเผือก
- กำลังช้างสาร
- ขนมหูช้าง
- ขวดตีนช้าง
- ขอช้าง
- ขาดคอช้าง
- ขาดหัวช้าง
- ข้าวหางช้าง
- ขี่ช้างจับตั๊กแตน
- คอกช้าง
- คุยช้าง
- ฆ่าช้างเอางา
- งวงช้าง
- งาช้าง
- งานช้าง
- ชนช้าง
- ชั่วช้างปรบหู
- ช้างกระทืบโรง
- ช้างงวง
- ช้างชนะงา
- ช้างชำนิ
- ช้างชูงวง
- ช้างต่อ
- ช้างตายทั้งตัวเอาใบบัวมาปิด
- ช้างทำลายโรง
- ช้างน้อย
- ช้างน้าว
- ช้างน้ำ
- ช้างเนียม
- ช้างประสานงา
- ช้างป่วย
- ช้างผะชด
- ช้างเผือก
- ช้างพลาย
- ช้างพัง
- ช้างยืนแท่น
- ช้างยืนโรง
- ช้างร้อง
- ช้างสะบัดหญ้า
- ช้างสาร
- ช้างสำคัญ
- ช้างสิบตระกูล
- ช้างสีดอ
- ช้างสีปลาด
- ช้างเหยียบ
- ช้างใหญ่
- ด่านช้าง
- ดูช้างให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่
- ตกท้องช้าง
- ตะพานช้าง
- ตะพุ่นหญ้าช้าง
- ตะรังตังช้าง
- ตั๋วช้าง
- ตาบอดคลำช้าง
- ถั่วแปบช้าง
- ถามช้างตอบม้า
- ถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็น
- ทางช้างเผือก
- เท้าช้าง
- นมช้าง
- นเรศวร์ชนช้าง
- ใบหูช้าง
- ปงช้าง
- ปลงช้าง
- ปากช้าง
- ผัดช้าง
- ฝนไล่ช้าง
- พญาช้างเผือก
- ฟันช้าง
- มะเร็งกรามช้าง
- มากขี้ควายหลายขี้ช้าง
- แมงช้าง
- แมลงช้าง
- ยศช้างขุนนางพระ
- ย่านางช้าง
- รกช้าง
- ร่องตีนช้าง
- ลมงวงช้าง
- ล้มช้าง
- ลูกช้าง
- เลี้ยงช้างกินขี้ช้าง
- เลือดท่วมท้องช้าง
- ไล่ช้าง
- วังช้าง
- ว่านหางช้าง
- ศีรษะช้าง
- สะพานช้าง
- สัปคับช้าง
- หญ้างวงช้าง
- หญ้ารกช้าง
- หนอกช้าง
- หมอช้างเหยียบ
- หอคอยงาช้าง
- หางช้าง
- หูช้าง
- เห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง
- เห็นช้างเท่าหมู
- อ้อยเข้าปากช้าง
- อ้อยช้าง
- เอาเนื้อหนูไปปะเนื้อช้าง
รากศัพท์ 2
[แก้ไข]คำกริยา
[แก้ไข]ช้าง
ภาษาคำเมือง
[แก้ไข]การออกเสียง
[แก้ไข]- (เชียงใหม่) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย): /t͡ɕaːŋ˦˥/
คำนาม
[แก้ไข]ช้าง (คำลักษณนาม ตัว)
- อีกรูปหนึ่งของ ᨩ᩶ᩣ᩠ᨦ (ช้าง)
- ศัพท์ที่เคยเสนอในรู้ไหมว่า
- สัมผัส:ภาษาไทย/aːŋ
- ศัพท์ภาษาไทยที่มีการออกเสียงไอพีเอ
- ศัพท์ภาษาไทยที่มี 1 พยางค์
- ศัพท์ภาษาไทยที่สืบทอดจากภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม
- ศัพท์ภาษาไทยที่รับมาจากภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม
- ศัพท์ภาษาไทยที่สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม
- ศัพท์ภาษาไทยที่รับมาจากภาษาไทดั้งเดิม
- ศัพท์ภาษาไทยที่รับมาจากภาษาจีนยุคกลาง
- คำหลักภาษาไทย
- คำนามภาษาไทย
- คำนามภาษาไทยที่ใช้คำลักษณนาม ตัว
- คำนามภาษาไทยที่ใช้คำลักษณนาม เชือก
- รายการที่มีกล่องคำแปล
- จีนกลาง terms with non-redundant manual transliterations
- หน้าที่มีลิงก์แดงภาษาเกาหลี/t+
- แมนจู terms with redundant transliterations
- คำกริยาภาษาไทย
- คำอกรรมกริยาภาษาไทย
- ศัพท์ภาษาไทยที่ใช้ในบทร้อยกรอง
- ศัพท์ภาษาไทยที่มีตัวอย่างการใช้
- ศัพท์ภาษาคำเมืองที่มีการออกเสียงไอพีเอ
- คำหลักภาษาคำเมือง
- คำนามภาษาคำเมือง
- คำนามภาษาคำเมืองในอักษรไทย
- คำนามภาษาคำเมืองที่ใช้คำลักษณนาม ตัว
- th:สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม