นาง

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี

ภาษาไทย[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์นาง
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงnaang
ราชบัณฑิตยสภาnang
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/naːŋ˧/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม *naːŋᴬ⁴, จากภาษาไทดั้งเดิม *naːŋᴬ, จากภาษาจีนเก่า (OC *naŋ, “หญิงสาว”)[1]; ร่วมเชื้อสายกับภาษาอีสาน นาง, ภาษาลาว ນາງ (นาง), ภาษาคำเมือง ᨶᩣ᩠ᨦ (นาง), ภาษาไทลื้อ ᦓᦱᧂ (นาง), ภาษาไทดำ ꪙꪱꪉ (นาง), ภาษาไทใหญ่ ၼၢင်း (น๊าง), ภาษาไทใต้คง ᥘᥣᥒᥰ (ล๊าง) หรือ ᥢᥣᥒᥰ (น๊าง), ภาษาอ่ายตน ꩫင် (นง์), ภาษาอาหม 𑜃𑜂𑜫 (นง์); ร่วมเชื้อสายผ่านภาษาจีนเก่า: ภาษาเขมรเก่า នាង (นาง), , , ภาษาเขมร នាង (นาง), ภาษาเวียดนาม nàng, ภาษาพม่า နန်း (นน์:)

คำนาม[แก้ไข]

นาง

  1. ผู้หญิง, คำประกอบเพื่อแสดงว่าเป็นเพศหญิง
    คำพ้องความ: เนียง, แน่ง, นง
    นางฟ้า
    นางบำเรอ
    นางละคร
    นางพระกำนัล
  2. (กฎหมาย, เฉพาะไทย) คำนำหน้าชื่อหญิงซึ่งจดทะเบียนสมรส แต่หญิงซึ่งจดทะเบียนสมรสแล้วจะใช้คำนำหน้าชื่อว่า นางสาว ต่อไปก็ได้
  3. (โบราณ) คำนำหน้าชื่อภรรยาที่เรียกตามราชทินนามของสามีที่มีบรรดาศักดิ์ต่ำกว่าพระยาลงมา
    นางมหาเทพกษัตรสมุห
    (บรรเลง สาคริก)
  4. (ภาษาปาก) คำเรียกหรือคำนำหน้าชื่อหญิงที่มีพฤติกรรมไม่ดีหรือน่ารังเกียจเป็นต้น (หรือใช้คำว่า นัง)
    นางแพศยา
  5. (ล้าสมัย) คำเรียกสัตว์ตัวเมียโดยสุภาพ
    นางช้าง
    นางม้า
  6. ใช้แทนคำว่า อี ที่เป็นพยางค์ต้นของบางคำเพื่อความสุภาพ
    หอยนางรม (หอยอีรม)
    นกนางแอ่น (นกอีแอ่น)
    ตุ่มนางเลิ้ง (ตุ่มอีเลิ้ง, ตุ่มอีเฬิง)

คำวิสามานยนาม[แก้ไข]

นาง

  1. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์เรวดี มี 16 ดวง เห็นเป็นรูปผู้หญิงท้อง, ดาวปลาตะเพียน ก็เรียก

คำลักษณนาม[แก้ไข]

นาง

  1. ใช้กับผู้หญิง

คำสรรพนาม[แก้ไข]

นาง

  1. คำแทนผู้หญิง
    ฤๅษีไปป่า นางก็ร้อยพวงมาลัย นางร้อยแล้วเอย นางแก้วก็พิษฐานไป
  2. (ภาษาปาก, ขำขัน) คำใช้แทนคนทุกเพศทุกวัย บางทีก็ใช้แทนสัตว์ด้วย

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

คำนาม[แก้ไข]

นาง

  1. คำนำหน้าชื่อเพลงไทยบางพวก
    นางครวญ
    นางนาค
    นางนก

รากศัพท์ 3[แก้ไข]

คำนาม[แก้ไข]

นาง (คำลักษณนาม ตัว)

  1. (ปลา~) แดง

อ้างอิง[แก้ไข]

  1. Pittayaporn, Pittayawat (2014), chapter Layers of Chinese Loanwords in Proto-Southwestern Tai as Evidence for the Dating of the Spread of Southwestern Tai, in MANUSYA: Journal of Humanities, volume 20 (special issue), Bangkok: Chulalongkorn University, ISSN 0859-9920, pages 47–68.