พริก

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี

ภาษาไทย[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์พฺริก
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงprík
ราชบัณฑิตยสภาphrik
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/pʰrik̚˦˥/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

เป็นไปได้ว่ามาจาก paprika (หรือที่คล้ายกัน) ในภาษาใดภาษาหนึ่งของยุโรป หรือจากภาษาโปรตุเกส piri-piri ซึ่งยืมจากภาษาในแอฟริกาอีกทอดหนึ่ง

รูปแบบอื่น[แก้ไข]

คำนาม[แก้ไข]

พริก

  1. ชื่อไม้ล้มลุกในสกุล Capsicum วงศ์ Solanaceae ผลมีรสเผ็ด มีหลายชนิด เช่น พริกขี้หนู (C. frutescens L.), พริกหยวก พริกชี้ฟ้า (C. annuum L.)

คำสืบทอด[แก้ไข]

  • คำเมือง: ᨻᩕᩥ᩠ᨠ (พริก), ᨽᩥ᩠ᨠ (ภิก)
  • ลาว: ພິກ (พิก)
  • ไทลื้อ: ᦘᦲᧅ (ภีก)

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

คำนาม[แก้ไข]

พริก

  1. ชื่อนกขนาดเล็กชนิด Metopidius indicus (Latham) ในวงศ์ Jacanidae ปากสีเหลือง หางตาสีขาว ตัวสีน้ำตาลเป็นมันวาว นิ้วตีนยาวมากสำหรับพาดเดินบนพืชน้ำ บินไม่ค่อยเก่ง ทำรังบนพืชน้ำ กินพืชน้ำ แมลง และสัตว์น้ำขนาดเล็ก

รากศัพท์ 3[แก้ไข]

คำนาม[แก้ไข]

พริก

  1. ชื่องูพิษขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ในสกุล Maticora วงศ์ Elapidae ลำตัวเรียวยาว ตากลมเล็กสีดำ มีเส้นสีขาวพาดตามความยาวลำตัว มักพบซ่อนตัวอยู่ใต้ก้อนหินหรือขอนไม้ กินงู กิ้งก่า กบ เขียด ในประเทศไทยพบ 2 ชนิด คือ พริกท้องแดง [M. bivirgata (Boie)] ตัวสีน้ำเงินเข้ม หัว ท้อง และหางสีแดงสด ยาวประมาณ 1.4 เมตร และพริกสีน้ำตาล [M. intestinalis (Laurenti)] ตัวสีน้ำตาล หัวสีน้ำตาลส้ม ท้องมีลายเป็นปล้องสีดำสลับขาว ใต้หางมีสีแดงเรื่อ ๆ ยาวประมาณ 50 เซนติเมตร ทั้ง 2 ชนิดพบทางภาคใต้ของประเทศไทย