กรด

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: กรีด, กรี๊ด, และ กรูด

ภาษาไทย[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์กฺรด
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงgròt
ราชบัณฑิตยสภาkrot
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/krot̚˨˩/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

ไม่ทราบรากศัพท์; เทียบภาษาลาว ກົດ (ก็ด)

คำนาม[แก้ไข]

กรด (คำลักษณนาม ตัว)

  1. สารอย่างหนึ่ง มีรสเปรี้ยว โดยปรกติกัดหรือทำให้สิ่งอื่นแปรไป
  2. (เคมี) สารเคมีที่ประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจน และเมื่อสารนี้ละลายน้ำเป็นสารละลายแล้ว ไฮโดรเจนที่มีอยู่ทั้งหมดหรือบางส่วนต้องแปรสภาพออกมาเป็นไฮโดรเจนไอออน (H+) สารละลายที่ได้มีรสเปรี้ยวเปลี่ยนสีลิตมัสสีน้ำเงินเป็นสีแดงได้, สารเคมีที่มีสมบัติจ่ายโปรตอนให้แก่สารอื่นได้, สารเคมีที่มีสมบัติรับอิเล็กตรอนคู่หนึ่งมาจากสารอื่นได้

คำคุณศัพท์[แก้ไข]

กรด

  1. คม, มีลักษณะที่กัดกร่อนหรือตัดสิ่งของได้
    น้ำกรด
    น้ำที่คม
    ลมกรด
    ลมที่คม

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

คำนาม[แก้ไข]

กรด (คำลักษณนาม ต้น)

  1. ชื่อไม้เถาชนิด Combretum tetralophum C. B. Clarke ในวงศ์ Combretaceae มักขึ้นในที่น้ำท่วม เช่น ตามฝั่งน้ำลำคลอง ใบโดยมากออกรอบข้อ 2 หรือ 3 ใบ ใบอ่อนสีม่วงดำ เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเขียว ผลมีสันแข็งเป็น 4 ครีบ, เถาวัลย์กรด ก็เรียก
  2. ชื่อไม้เถาชนิด C. trifoliatum Vent. มีลักษณะคล้ายกันมาก แต่ผลมี 5 ครีบ
    กรดกระถินอินจันพรรณไม้ [1]
    สีเอยเจ้าสีสด เจ้าปลูกต้นกรดไว้ริมท่า [2]

รากศัพท์ 3[แก้ไข]

ยืมมาจากภาษาสันสกฤต कलश (กลศ) หรือภาษาบาลี กลส

คำนาม[แก้ไข]

กรด

  1. (ศาสนาฮินดู) ภาชนะใส่น้ำเทพมนตร์ของพราหมณ์ ลักษณะเหมือนคนโทมีฝาปิด มีพวยอย่างกาน้ำ
คำพ้องความ[แก้ไข]

อ้างอิง[แก้ไข]

  1. นิราศอิเหนา ประชุมนิราศสุนทรภู่ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. 2465
  2. บทกลอนกล่อมเด็ก ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. 2470