ข้ามไปเนื้อหา

เห่า

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก งูเห่า)
ดูเพิ่ม: เหา

ภาษาไทย

[แก้ไข]

การออกเสียง

[แก้ไข]
การแบ่งพยางค์เห่า
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงhào
ราชบัณฑิตยสภาhao
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/haw˨˩/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1

[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *ʰrawᴮ; เทียบภาษาจีนยุคกลาง (MC xuwX|xuwH, “คำราม; ตะโกน”); ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᩉᩮᩢ᩵ᩣ (เหั่า), ภาษาลาว ເຫົ່າ (เห็่า), ภาษาไทลื้อ ᦠᧁᧈ (เห่า), ภาษาไทดำ ꪹꪬ꪿ꪱ (เห่า), ภาษาไทขาว ꪹꪬꪱꫀ, ภาษาไทใหญ่ ႁဝ်ႇ (ห่ว), ภาษาไทใต้คง ᥞᥝᥱ (เห่า), ภาษาพ่าเก ꩭွ် (เหา), ภาษาอาหม 𑜑𑜧 (หว์), ภาษาจ้วง raeuq, ภาษาจ้วงแบบหนง haeuq, ภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง haeuq

คำกริยา

[แก้ไข]

เห่า (คำอาการนาม การเห่า)

  1. อาการส่งเสียงสั้นของหมา
  2. (โบราณ) อาการที่งูเห่าขู่ด้วยเสียงฟู่
  3. (ภาษาปาก, สแลง, ดูหมิ่น) พูด
ลูกคำ
[แก้ไข]

รากศัพท์ 2

[แก้ไข]

ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ເຫົ່າ (เห็่า), ภาษาไทดำ ꪹꪬ꪿ꪱ (เห่า), ภาษาไทใหญ่ ႁဝ်ႇ (ห่ว)

คำนาม

[แก้ไข]

เห่า (คำลักษณนาม ตัว)

  1. (งู~) ชื่องูพิษรุนแรงขนาดกลาง ในสกุล Naja วงศ์ Elapidae ขนาดยาวประมาณ 1.3-2 เมตร พบหลายสีต่างกันไปในแต่ละตัว เช่น ดำ น้ำตาล เขียวอมเทา เหลืองหม่น บางตัวมีลายสีขาวและบางตัวไม่มีลาย สามารถยกตัวท่อนหัวตั้งขึ้นและแผ่บริเวณคอกว้างออกได้ เรียกว่า แผ่แม่เบี้ย ขณะแผ่แม่เบี้ยจะเห็นลายดอกจันบริเวณกลางหัวด้านหลัง ทำเสียงขู่พ่นลมออกทางจมูกดังฟู่อาศัยอยู่ตามที่ลุ่ม กินหนู กบ เขียด ลูกไก่ ในประเทศที่พบแล้ว มี 3 ชนิด คือ เห่าไทย (N. kaouthia Lesson) ส่วนตัวที่มีสีคล้ำ เรียก เห่าหม้อ, เห่าด่างพ่นพิษ (N. siamensis Laurenti) และเห่าทองพ่นพิษ (N. sumatrana Müller) ซึ่งสามารถพ่นฉีดพิษออกจากเขี้ยวพิษได้