กระแจะ
หน้าตา
ภาษาไทย
[แก้ไข]การออกเสียง
[แก้ไข]การแบ่งพยางค์ | กฺระ-แจะ | |
การแผลงเป็น อักษรโรมัน | ไพบูลย์พับบลิชชิง | grà-jɛ̀ |
ราชบัณฑิตยสภา | kra-chae | |
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย) | /kra˨˩.t͡ɕɛʔ˨˩/(สัมผัส) |
รากศัพท์ 1
[แก้ไข]คำนาม
[แก้ไข]กระแจะ
- ผงเครื่องหอมต่าง ๆ ที่ประสมกันสำหรับทา เจิม หรืออบผ้า โดยปรกติมีเครื่องประสมคือ ไม้จันทน์ แก่นไม้หอม ชะมดเชียง หญ้าฝรั่น
รากศัพท์ 2
[แก้ไข]คำนาม
[แก้ไข]กระแจะ
- ไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Naringi crenulata ในวงศ์ส้ม (Rutaceae) ขึ้นในป่าเบญจพรรณ ต้นและกิ่งมีหนาม เปลือกขรุขระสีเทา ดอกเล็กสีขาวเป็นช่อสั้น ยาวประมาณสองเซนติเมตร กลิ่นหอมอ่อน ท่อนไม้ฝนกับน้ำใช้เป็นเครื่องประทินผิว รากใช้ทำยา
คำพ้องความ
[แก้ไข]ดูเพิ่ม
[แก้ไข]รากศัพท์ 3
[แก้ไข]คำนาม
[แก้ไข]กระแจะ
- รูปปลอกเหล็กสำหรับจับช้างดุ ทางปลายสัณฐานปากเปิดอย่างคีมคีบเบ้าทองเหลือง มีกำลังหดตัวให้ปลายจดเข้าหากันได้ ที่ริมปากมีงาแซงทำด้วยเหล็กปลายแหลมข้างละอัน ที่โคนปลอกมีที่สำหรับสวมคันไม้ไผ่ที่ทะลวงให้กลวง ร้อยเชือกซึ่งผูกจากปลอกลอดออกมาจากคันไม้ ใช้สำหรับพุ่งเข้าไปเกาะขาช้างข้างใดข้างหนึ่งไว้ เมื่อเกาะได้แล้ว โรยปลายไปผูกกับขอนไม้ไว้เพื่อช้างจะได้ลาก ช้างกำลังดุก็ลากไป งาแซงก็จะฝังลึกเข้าไปทุกทีจนไม่สามารถจะก้าวขาได้ ก็เป็นอันจับได้
รากศัพท์ 4
[แก้ไข]อาจเกี่ยวข้องกับรากศัพท์ 1, 2 หรือ 3
คำวิสามานยนาม
[แก้ไข]กระแจะ
ภาษาคำเมือง
[แก้ไข]คำนาม
[แก้ไข]กระแจะ
- อีกรูปหนึ่งของ ᨠᩕᨧᩯᩡ (กรแจะ, “ต้นกระแจะ; โซ่เหล็กทำเป็นปลอกสวมเท้าช้าง”)